รองศาสตราจารย์นายแพทย์ วิชญ์ บรรณหิรัญAmerican Board of Sleep MedicineCertified international sleep specialist "เบื่อกับการใช้ CPAP ตลอดชีวิตหรือไม่" ถ้าใช่ UAS อาจเป็นหนึ่งในคำตอบ สำหรับคนนอนกรนและหยุดหายใจขณะหลับ ลองศึกษาดู... นอนกรน และ โรคหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (obstructive sleep apnea หรือ OSA) สาเหตุสำคัญเกิดจากการอุดกั้นของช่องคอ โดยเฉพาะบริเวณโคนลิ้นและเนื้อเยื่อเพดานอ่อน จนกระทั่งทำให้ลมหายใจไม่สามารถเข้าออก หรือหยุดหายใจเป็นช่วง ๆ ขณะนอนหลับ ทั้งนี้เป็นเพราะกล้ามเนื้อและประสาทจะคลายตัวอย่างมากในเวลาดังกล่าว
การกระตุ้นทางเดินหายใจส่วนบน (Upper Airway Stimulation: UAS) เป็นนวัตกรรมการรักษา ที่มีประสิทธิภาพสูง โดยเฉพาะ
สำหรับผู้ป่วยที่อึดอัด ไม่สามารถทน หรือไม่สะดวกในการใช้
เครื่องอัดอากาศแรงดันบวกต่อเนื่อง (Continuous Positive Airway Pressure - CPAP)หลักการ: UAS เป็น
การฝังอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่กระตุ้นเส้นประสาทสมองเส้นที่ 12 (hypoglossal nerve) ซึ่งควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อลิ้น (genioglossus muscle) การกระตุ้นนี้ช่วยให้ลิ้นเคลื่อนไปข้างหน้าระหว่างการนอนหลับ ป้องกันการอุดกั้นทางเดินหายใจที่เกิดจากการยุบตัวของลิ้น
ใครคือผู้เหมาะสมได้บ้างสำหรับการทำ UASข้อบ่งชี้ในการรักษา ได้แก่
อายุ 18 ปีขึ้นไป เป็น OSA ระดับปานกลางถึงรุนแรง ดัชนีมวลกาย (BMI) น้อยกว่า 40 กก/ตรม. ไม่สามารถทนต่อการใช้ CPAP และ
ไม่มีลักษณะทางเดินหายใจบางอย่างที่ผิดปกติจากการส่องกล้องขณะหลับ (DISE) ขั้นตอนการรักษา - การประเมินก่อนการผ่าตัด: ผู้ป่วยจะได้รับการตรวจการนอนหลับ (sleep test) และการส่องกล้องตรวจขณะหลับ (DISE) เพื่อประเมินความเหมาะสมในการรักษา
- การฝังอุปกรณ์: อุปกรณ์ UAS จะถูกฝังใต้ผิวหนังบริเวณหน้าอก โดยมีสายเชื่อมต่อกับเส้นประสาทไฮโปกลอสซัล
- การเปิดใช้งาน: หลังจากการฟื้นตัวจากการผ่าตัด อุปกรณ์จะถูกเปิดใช้งาน และปรับระดับการกระตุ้นตามความสบายและประสิทธิภาพในการรักษาของผู้ป่วย
ผลลัพธ์จากการรักษาการศึกษาทางคลินิกพบว่า UAS สามารถ
ลดดัชนีการหยุดหายใจและหายใจแผ่ว (AHI) ได้ อาการง่วงนอนตอนกลางวันลดลง และทำให้คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยอย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้ป่วยมีความพึงพอใจสูง
ข้อดีของการรักษาด้วย UAS คือ
ไม่ต้องเสียเวลาพกพาและสวมใส่ CPAP หรือทำความสะอาดอุปกรณ์ทุกวัน นอกจากนี้ยัง
ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปหน้าจากการผ่าตัดขากรรไกรหรือโครงสร้างทางกายวิภาค และมีความเสี่ยงต่ำจากภาวะแทรกซ้อนรุนแรงข้อควรพิจาณา การรักษาด้วยวิธีนี้อาจมี
ค่าใช้จ่ายที่สูง และต้องทำภายใต้การดมยาสลบ โดย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโสต ศอ นาสิกการนอนหลับ นอกจากนี้ผู้ป่วยอาจมีความรู้สึกไม่สบายเล็กน้อยเวลาเครื่องทำงาน อาจเจ็บลิ้น หรือมีแผลด้านล่างของลิ้นซึ่งผลข้างเคียงนี้มักจะดีขึ้น หลังจากมีการปรับการกระตุ้นแล้ว และอาจมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อบริเวณแผลผ่าตัดเช่นเดียวกันการผ่าตัดอื่น ๆ นอกจากนี้ คือ
ไม่ควรให้เครื่องมืออยู่ใกล้เครื่องมือที่สามารถปล่อยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าได้ การติดตามผลหลังการรักษา เพื่อประเมินประสิทธิภาพของอุปกรณ์และปรับการตั้งค่าตามความต้องการของผู้ป่วย การติดตามผลมักจะดำเนินการที่ 6 และ 12 เดือนหลังการรักษา การศึกษาระยะยาวแสดงให้เห็นว่าผลลัพธ์ที่ดีสามารถคงอยู่ได้ถึง 18 เดือนหลังการฝังอุปกรณ์ โดยมีอัตราการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงต่ำ